เป็นฝนสู่ประชา จากพระบิดาของแผ่นดิน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” หยาดน้ำพระราชหฤทัย กลายเป็นสายฝนสู่แผ่นดิน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง”

17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 โดย
เป็นฝนสู่ประชา จากพระบิดาของแผ่นดิน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” หยาดน้ำพระราชหฤทัย กลายเป็นสายฝนสู่แผ่นดิน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง”
adminweb


นาวาอากาศเอก พิชญาณ  อะสีติรัตน์ ผู้บังคับการกองบิน ๑ มอบหมายให้ นาวาอากาศเอก กำพล  สุประพันธ์ ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สด เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี ๒๕๖๗ เพื่อจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของชาติไทยให้ประชาชนและอนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสแสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งฝนหลวง”นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น อันกอปรด้วยพระอัจฉริยภาพ พระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล พระราชอุตสาหะวิริยะ และการที่ทรงสละเวลาส่วนพระองค์แม้ในยามดึกดื่นค่ำคืนอย่างเหน็ดเหนื่อยตรากตรำ พระวรกายมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน นับตั้งแต่ที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเยือนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๘ ทรงพบว่าราษฎรเดือดร้อนพืชผลเสียหายจากทั้งฝนแล้งและน้ำท่วม ทำให้ทรงเกิดแนวคิดในการแก้ปัญหาทุกข์ร้อนของราษฎรอย่างฉับพลันในขณะนั้นว่า “สมควรที่จะสร้างฝายหรือเขื่อนขนาดเล็ก (Check dams) และอ่างเก็บน้ำจำนวนมากขวางทางน้ำ เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงการไหลบ่า และเก็บกักน้ำไว้ในฤดูแล้งซึ่งเป็นการบรรเทาสภาวะแห้งแล้งได้ทางหนึ่ง” ที่สำคัญทรงเกิดประกายความคิดด้วยความมั่นพระทัยว่าน่าจะนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยให้เกิดฝนได้ และน่าจะมีวิธีการที่จะรวมเมฆที่กระจายอยู่ในท้องฟ้าแต่ลอยผ่านพื้นที่แห้งแล้งไปหมดดังที่ทรงสังเกตเห็น ในขณะนั้นให้เมฆเหล่านั้นรวมตัวกันเกิดเป็นฝนตกลงสู่พื้นที่แห้งแล้งดังกล่าวได้ อันเป็นเป็นต้นกำเนิดของแนวพระราชดำริที่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนเป็น “โครงการพระราชดำริฝนหลวง” ในปัจจุบัน


โดยมี นายวิจิตร  กิจวิรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีฯ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗ ณ หอประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมาอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา


ห้วงเวลา